จากวิกฤตสู่โอกาส เร่งเครื่องธุรกิจ GreenTech เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero
?? แม้ทั่วโลกจะประกาศเจตนารมณ์ของการไปสู่เป้าหมาย “Net Zero”แต่ในปี 2024 ตัวเลขการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกยังคงเพิ่มสวนทางกับหมุดหมายที่วางไว้
?? ตั้งแต่ในปี 2015 ที่หลายประเทศทั่วโลกร่วมลงนามใน“ความตกลงปารีส (Paris Agreement)”มาจวบจนปัจจุบันเป็นเวลาถึง 10 ปีที่ภาพรวมยังคงมีความท้าทายอยู่อีกมากมาย โดยเฉพาะตัวเลขการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ยังคงเพิ่มขึ้นไปถึงระดับ 4.16 หมื่นล้านตัน ซึ่งเกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มขึ้นกว่าปี 2023 ถึง 0.8% และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ทำให้พื้นที่ป่าลดลง
?? การเพิ่มขึ้นของปริมาณคาร์บอนในชั้นบรรยากาศส่งผลกระทบที่ชัดเจนมากขึ้นจน UNEP มีการเตือนผ่านรายงานEmissions Gap 2024: “No more hot air please!”ว่าหากยังไม่มีมาตรการการดำเนินงานที่เข้มงวดอย่างจริงจัง อุณหภูมิโลกอาจเพิ่มขึ้น 2.6 - 3.1 °C ในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะนำไปสู่ผลกระทบทางธรรมชาติที่รุนแรงต่อทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจจนไม่อาจหวนคืนกลับสู่ภาวะปกติได้
? ตอนนี้แม้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจดูสิ้นไร้หนทาง แต่โลกยังสามารถรับมือกับความท้าทายนี้โดยมีทางออกที่สำคัญคือ การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรยั่งยืน เทคโนโลยีการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) และการเพิ่มพื้นที่ป่า เป็นต้นที่จะมีส่วนช่วยในการดูดซับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการสนับสนุนธุรกิจเหล่านี้สิ่งสำคัญมากที่สุดคือการเพิ่มการลงทุนจากหน่วยงานต่างๆ ให้มากกว่าเดิม
?? เพราะตามรายงานของ BloombergNEF ระบุไว้ว่า ในปีที่ผ่านมาทั่วโลกมีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งพลังงานเพียง 37% ของสัดส่วนจำเป็นเท่านั้น ในขณะที่ปัจจุบันทั่วโลกต้องเพิ่มการลงทุนเงินไปให้ถึง 5.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ปี 2025 - 2030 จึงจะเพียงพอต่อการพัฒนา อีกทั้งประเทศต่างๆ ต้องสร้างการร่วมมือระหว่างประเทศในการปฏิรูประบบการเงินระดับโลก มองหามาตรการที่สามารถเพิ่มผลประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
สำหรับประเทศไทยเองได้มีการตั้งเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามแนวทางจากการประชุม COP26 ที่จัดขึ้นเมื่อปี 2021 โดยประกาศว่า ประเทศไทยจะเป็น‘กลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)’ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065
?? ดังนั้นการจะไปถึงเป้าหมายทั่วโลกยังต้องการพึ่งพาธุรกิจที่ดำเนินงานเกี่ยวกับ“เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน หรือ GreenTech”ที่จะครอบคลุมถึงเทคโนโลยีสะอาด (CleanTech) และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Tech) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับภาคธุรกิจเหล่านั้น NIA จึงมีโครงการ "Climate Tech Acceleration Program"ที่มีเป้าหมายในการสร้างโอกาสทางการตลาด มุ่งขยายศักยภาพผ่านกิจกรรมการให้คำปรึกษา สร้างเครือข่ายขยายการลงทุนให้กับสตาร์ทอัพที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero
???? จากที่ได้เริ่มต้นโปรแกรมนี้ในปี 2024 ถึงเวลาแล้วที่จะสานต่อและเดินหน้าการสนับสนุนอีกครั้ง ซึ่งจากปีที่ผ่านมาได้มีการเปิดรับธุรกิจที่มีผลงานพร้อมขยายออกสู่ตลาดใน 4 กลุ่มธุรกิจด้วยกัน ได้แก่ Clean Energy, Energy Conservation, Data Analytics และ Waste Utilization ซึ่งClimateTech Acceleration Program 2025นี้ ได้มีการเพิ่มธุรกิจด้าน Sustainable Logistic หรือระบบโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ามา เพื่อจะครอบคลุมการแก้ปัญหาอย่างรอบด้านยิ่งขึ้น
?? ในท้ายที่สุด การบรรลุเป้าหมาย Net Zero จึงไม่ใช่การอาศัยผลงานของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของความร่วมมือในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล นักลงทุน หรือภาคธุรกิจ ที่จะมาร่วมมือเร่งผลักดันการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างจริงจัง เพื่อหาโอกาสที่โลกจะรอดพ้นจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ไปสู่อนาคตด้านพลังงานที่ยั่งยืนได้สำเร็จ
?? สำหรับสตาร์ทอัพที่สนใจเข้าร่วม Climate Tech Acceleration Program 2025 นี้ สามารถรอติดตามข่าวการเปิดรับสมัครโครงการผ่านทางเพจของ NIA ได้เลย
อ้างอิงข้อมูลจาก:
https://ccf.tgo.or.th/wp-content/uploads/2024/10/Final_คู่มือการดำเนินงานสู่เป้าหมาย-Net-Zero.pdf
https://policywatch.thaipbs.or.th/article/environment-97
https://www.unep.org/resources/emissions-gap-report-2024
https://www.infoquest.co.th/2025/465960
https://esguniverse.com/content/greenhouse-gas-emissions-differences-in-2024/
https://www.nia.or.th/event/climate-acceleration-program-2024
8 เมษายน 2568 |
7