งานประสานงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กรุงเทพมหานคร
Maejo University Coordinating Office , Bangkok Thailand

ประกาศ ! จากสถานทูตไต้หวันเปลี่ยนการพิจารณา จาก 1 วัน เป็น 2 วันแล้วนะคะ เช่น ยื่นวันจันทร์ ฟังผลการพิจารณารับวันพุธ บุคลากรท่านใดมีแพลนจะเดินทางเตรียมหนังสือและเอกสารให้พร้อมนะคะ Laughing

 

**ภาพประกอบจาก http://www.linethaitravel.com

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : งานประสานงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กรุงเทพมหานคร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2708

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

กิจกรรมรับขวัญน้องใหม่ กลัดเข็มผูกไท ร้อยดวงใจ สานสายใยอินทนิล เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่น้องใหม่ ลูกแม่โจ้รุ่นที่ 90
วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดกิจกรรมรับขวัญน้องใหม่ กลัดเข็มผูกไท ร้อยดวงใจ สานสายใยอินทนิล เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่น้องใหม่ ลูกแม่โจ้รุ่นที่ 90 ที่ผ่านกิจกรรมเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้อย่างสมบูรณ์ และสร้างความภาคภูมิใจในเครื่องแบบ เครื่องหมายสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่า ร่วมคล้องมาลัย เจิมหน้ารับขวัญน้องใหม่อย่างอบอุ่นโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก นายศิวะ ธมิกานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีพร้อมกล่าวต้อนรับและให้กำลังใจน้องใหม่แม่โจ้รุ่น 90 ที่เดินทางมาใช้ชีวิตในจังหวัดเชียงใหม่ และ รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวให้โอวาทแก่นักศึกษา มีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ศิษย์เก่า กล่าวมอบสัญลักษณ์พร้อมกลัดเข็มปกเสื้อและเข็มเนคไท ให้กับผู้แทนนักศึกษาใหม่แต่ละคณะ/วิทยาลัยจากนั้น เป็นพิธีมอบเสื้อสามารถให้กับนักวิ่ง และกิจกรรมประกอบช่ออินทนิล ช่อที่ 90 ซึ่งแต่ละคณะได้รับจากการ checkpoint จุดเส้นชัยในกิจกรรมเดิน วิ่ง แม่โจ้ – สันทราย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความรัก ความผูกพัน ความสามัคคีของลูกแม่โจ้รุ่นที่ 90 ที่ได้ร่วมกันฝ่าฟันอุคสรรคจนประสบความสำเร็จนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแสดงขบวนศิลปวัฒนธรรม และกิจกรรมภาคบันเทิง สร้างความสนุกสนานแก่นักศึกษา ณ สนามกีฬาอินทนิล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
23 มิถุนายน 2568     |      7
“ศุภมาส” ชงแผนรับมือ “นโยบายทรัมป์” เร่งช่วยนักเรียนทุนทั้ง FAFSA หรือ Fulbright และทุนอื่นๆ จัดหาทุนสำรอง ดูแลเรื่องวีซ่า โอกาสการทำงานในไทยหรือประเทศทางเลือก คลอด 3 มาตรการพลิกวิกฤตสู่โอกาส หาพันธมิตรประเทศทางเลือกที่มีนโยบายเปิดกว้าง เช่น สหราชอาณาจักร แคนาดา จีน ออสเตรเลียพร้อมผลักดันไทยสู่ "Education Hub
          เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.68 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568 มีมติรับทราบมาตรการรับมือผลกระทบจากนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกา ที่มีต่อระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ของไทย เช่น นโยบาย “America First Foreign Aid”, การยกเลิกการสนับสนุนความหลากหลาย (DEI), และการปฏิรูประบบตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มข้นขึ้น (Extreme Vetting) มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อความร่วมมือด้านการศึกษาและทุนวิจัยระหว่างไทยและสหรัฐฯ รวมถึงโอกาสของนักศึกษาและนักวิจัยไทยในสหรัฐอเมริกา           รมว.กระทรวง อว. กล่าวต่อว่า ที่ประชุมฯ ได้เน้นย้ำให้เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาสในการสร้างความเข้มแข็งและยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ซึ่ง กระทรวง อว.ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้เตรียมแผนรับมือ 3 ระยะ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างเป็นระบบและทันท่วงที โดยได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบต่อระบบ อววน. ของประเทศไทย ประกอบด้วยแผนปฏิบัติการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น (ภายใน 1 ปี): ตั้งรับเชิงรุก ช่วยเหลือนักศึกษาไทย ในระยะเร่งด่วน กระทรวง อว.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งสำรวจจำนวนนักเรียนนักศึกษาไทยที่พึ่งพาทุนรัฐบาลสหรัฐฯ เช่น FAFSA หรือ Fulbright เพื่อเตรียมมาตรการช่วยเหลือเบื้องต้นผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทยในสหรัฐฯ พร้อมทั้งจัดทำบัญชีโครงการวิจัยที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อจัดหาทุนสำรองและกระจายความเสี่ยงโดยขยายความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ รวมถึงการมอบหมายหน่วยงานทำหน้าที่ให้คำแนะนำเรื่องวีซ่าและโอกาสการทำงานในไทยหรือประเทศทางเลือก         ส่วนระยะกลาง (1-3 ปี): ปรับกลยุทธ์ สร้างพันธมิตรใหม่ ประเทศไทยจะใช้การทูตผลักดันโครงการที่สอดคล้องกับผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ เพื่อรักษาความร่วมมือ พร้อมกันนี้จะจัดทำข้อมูลแนะแนวการศึกษาต่อในประเทศทางเลือกที่มีนโยบายเปิดกว้าง เช่น สหราชอาณาจักร แคนาดา จีน และออสเตรเลีย นอกจากนี้ จะเร่งพัฒนาหลักสูตรในไทยให้มีคุณภาพสูงเพื่อรองรับนักศึกษาไทยและต่างชาติ พร้อมออกมาตรการดึงดูดบุคลากรทักษะสูงทั้งชาวไทยและต่างชาติกลับสู่ประเทศ และระยะยาว (มากกว่า 3 ปี): พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ผลักดันไทยสู่ "Education Hub"  โดยมุ่งเน้นการยกระดับมหาวิทยาลัยไทยและพัฒนาหลักสูตรนานาชาติ (International Programs) ในสาขาอนาคตที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเศรษฐกิจดิจิทัล โดยจะสร้างความร่วมมือกับอาเซียนและสหภาพยุโรปเพื่อผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการวิจัย (Education Hub) ของภูมิภาค  และวางแผนพัฒนาภาคเอกชนไทยให้สามารถเข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global Value Chain)       “กระทรวง อว. มีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อนักศึกษาและนักวิจัยของไทยที่อาจต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนด้านสถานะวีซ่า การสนับสนุนทางการเงินและวิชาการ โดยขอให้มั่นใจว่ากระทรวง อว. ได้เตรียมมาตรการรองรับเพื่อดูแลทุกท่านอย่างดีที่สุด เพราะทุกท่านคือบุคลากรคุณภาพที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ” น.ส.ศุภมาส กล่าว
19 มิถุนายน 2568     |      14