ประเภทหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 

(E-PASSPORT)

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มี  3  ประเภท 

                1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทูต

                2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ราชการ  F  (เล่มสีน้ำเงิน)

                3. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ประชาชน  (เล่มสีแดง)

 

                ติดต่อทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ประชาชนและหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ราชการ  ที่กองหนังสือเดินทางต่างประเทศ

                *  กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา                                0-2643-5000

                    (ดำเนินการในส่วนของงานพิธีทางการทูต

                *  กรมการกงสุล  เลขที่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ                              0-2981-7170 ต่อ 2237-8 , 0-2981-7267

                    (หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางประชาชน)

                *  กระทรวงวัฒนธรรม  (ชั้นใต้ดิน)                                         0-2446-8111-2

                    (หนังสือเดินทางประชาชน)

 

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-PASSPORT) คืออะไร

                คือ หนังสือเดินทางที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค (Technical Specifecations)  ตามข้อกำหนดขององค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)  ซึ่งแตกต่างจากหนังสือเดินทางเดิม  ดังนี้

                *  มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (Bionetric Data) ได้แก่ ลายนิ้วมือ รูปใบหน้า ไว้ใน ContactlessIntegrated Circuit  ซึ่งผังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง

                *  สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Automatic Gate ณ จุดผ่านแดนระหว่างประเทศ  โดยมีการตรวจพิสูจน์  โดยอัตโนมัติเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในหนังสือเดินทางกับผู้ถือหนังสือเดินทาง  

 

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่าหนังสือเดินทางแบบเดิมอย่างไร

                1. สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้สูง  เป็นมาตรการสำคัญในการสกลัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง ฯลฯ

                2. สามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำและรวดเร็ว  อำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง การเข้าเมือง และส่งเสริมการท่องเที่ยว

                3. เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ทำให้หนังสือเดินทางไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับสากลยิ่งขึ้น  ส่งผลต่อเนื่องทางบวกด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศ

 

ระเบียบการออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ราชการ 

                หนังสือเดินทางราชการเป็นหนังสือที่กระทรวงการต่างประเทศออกให้แก่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ และสามาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่น ใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการ ตามที่กระทรวงต่างประเทศอนุมัติ

                หนังสือเดินทางราชการมีอายุไม่เกิน 5 ปี  และเมื่อเสร็จภารกิจหรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือเดินทางราชการ  ให้ส่งหนังสือราชการนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ  ทั้งนี้ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการจะนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัวไม่ได้

 

การทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ราชการ 

เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ราชการ 

                * หนังสือนำจากหน่วยราชการต้นสังกัดลงนาม โดยปลัดกระทรวงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ  แจ้งขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทาง  โดยแจ้งการอนุมัติให้เดินทางไปราชการ ณ ประเทศ ใด พร้อมระบุวัตถุประสงค์และกำหนดการเดินทาง ระบุผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ

                * สำเนาบันทึกอนุมัติตัวบุคคลให้เดินทางไปราชการต่างประเทศ

                * บัตรประจำตัวข้าราชการ และบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลักพร้อมสำเนา

                * สำเนาทะเบียนบ้าน

ค่าธรรมเนียม 

                - ค่าธรรมเนียมในการขอหนังสือเดินทางราชการ 1,000 บาท  สามารถนำใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานเบิกคืนจากหน่วยงานต้นสังกัด

ขั้นตอนการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ราชการ 

                ต้องมายื่นด้วยตนเอง เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการบันทึกข้อมูลชีวภาพ ถ่ายภาพใบหน้า และลายพิมพ์นิ้วมือ มีขั้นตอน  ดังนี้

                1. รับบัตรคิว

                2. พบเจ้าหน้าที่เพื่อวัดส่วนสูง  เก็บข้อมูลชีวภาพ ถ่ายรูป และพิมพ์ลายนิ้วมือด้วยเครื่อง     สแกนเนอร์ นิ้วชี้ขวาและซ้าย ข้างละ 2 ครั้ง

                3. ลงชื่อในใบคำร้อง

                4. ชำระค่าธรรมเนียม

                5. รับใบเสร็จรับเงิน และใบนัดจ่ายเล่ม

การรับเล่ม 

                 1. ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการ  ภายหลังจากวันยื่นคำร้อง

                2. โดยที่กระทรวงฯ ได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จำลอง  เพื่อผู้ร้องสามารถทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยอัตโนมัติไว้ 1 เครื่อง ที่กรมการกงสุล

                * ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มารับเล่มด้วยตนเอง  เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ    ในกรณีจำเป็น อาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรืออาจร้องขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ

การต่ออายุหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 

                เพื่อให้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพใช้งานได้สูงสุด  จึงกำหนดให้หนังสือเดินทางชนิดนี้มีอายุ  ใช้งาน 5 ปี  หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่มีการต่ออายุ  แต่จะออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม

                ไม่อนุญาตให้ลงบันทึกแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ (เช่น  การขอเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล)  ของผู้ถือหนังสือเดินทางลงในเล่มหนังสือเดินทาง  เพื่อป้องกันปัญหาการขาดความน่าเชื่อถือของข้อมูลตัวบุคคลที่บันทึกไว้ในหน้าหนังสือเดินทาง   ซึ่งอาจขัดแย้งกับข้อมูลที่บันทึกไว้  แล้วในไมโครชิพ  ดังนั้นหากแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลกระทรวงมหาดไทยเรียบร้อยแล้วต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่

เอกสารและขั้นตอนการขอหนังสืออำนวยความสะดวกในการขอตรวจลงตรา  (หนังสือนำขอวีซ่า) 

               1. หนังสือนำจากจากหน่วยราชการต้นสังกัดลงนาม โดยปลัดกระทรวงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ  แจ้งขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสืออำนวยความสะดวกการขอวีซ่าจากสถานทูตที่เกี่ยวข้อง  โดยแจ้งการอนุมัติให้ผู้ร้องเดินทางไปต่างประเทศ  พร้อมระบุรายละเอียด  กำหนดการเดินทาง  วัตถุประสงค์และประเทศที่จะไป

                2. สำเนาหนังสือเดินทาง (หน้าที่มีรูปถ่าย)

                3. กรณีเดินทางเป็นหมู่คณะตั้งแต่  5 คน ขึ้นไป  หน่วยงานต้นสังกัดต้องมีรายชื่อภาษาอังกฤษ (ไม่ต้องใส่ตำแหน่ง)  ของผู้เดินทาง เรียงลำดับให้ตรงกับหนังสือนำ  พร้อมระบุหมายเลขหนังสือเดินทาง

                4. กรณีขอหนังสืออำนวยความสะดวกในการขอตรวจลงตราของประเทศสหรัฐฯ  ญี่ปุ่น  และกัมพูชา   หน่วยราชการต้นสังกัดต้องถ่ายสำเนาหนังสือนำจากต้นสังกัดแนบมาอีกหนึ่งชุด ตามข้อกำหนดของสถานเอกอัครราชทูตของของทั้งสามประเทศ

                5. กำหนดวันรับหนังสือนำขอวีซ่า 2 วันทำการ  ไม่นับวันยื่นคำร้อง



ปรับปรุงข้อมูล 27/2/2555 0:00:00
, จำนวนการเข้าดู 3984